จินดา เจริญผล

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System



วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 5 อินเตอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทที่ 5
อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา โครงการอาร์พาเน็ตได้เริ่มขึ้นโดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนแจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาร์บารา มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ต

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ในปี พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลีย ตามโครงการ IDP ในปี พ.ศ. 2535 ได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต ในปีเดียวกัน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร ซึ่งต่อมาได้ต่อเครือข่ายของยูยูเน็ต และในปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ในปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลและผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ที่เรียกกันว่า ไอเอสพี

การแทนชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต (Internet Address) เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่า หมายเลขไอพี ซึ่งประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิต ในการอ้างอิงถึงหมายเลขไอพีนิยมแปลงเลขฐานนิยมทั้ง 4 ชุด เพื่อความสะดวกในการจำและป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เนื่องจากหมายเลขไอพีนั้นจดจำยาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลขไอพี เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน

การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มี 2 วิธี คือ การเชื่อมต่อโดยตรง โดย ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูง ข้อดีก็คือ การรับ-ส่งข้อมูลจะสามารถทำได้โดยตรง รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ ส่วนอีกวิธีคือ การเชื่อมต่อโดยผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ โดยจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศ

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) ในช่วงแรกๆ การบริการข้อูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปโตคอล Telnet และจะใช้ FTP (File Transfer Protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเทอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทร์เน็ตที่เรียกว่า เว็บเพจ  (Web Pages) ที่สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้ การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่า (Hyperlinks) และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า World Wide Web (WWW)

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)  คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์แรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น ต่อมาได้สร้างโปรแกรมรูปแบบกราฟิก เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของข้อความและภาพกราฟิก

การบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต มีหลายชนิด เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, การสนทนาออนไลน์, เทลเน็ต, การขนถ่ายไฟล์  รวมทั้งการทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce) บางครั้งเรียกกันว่า การค้าอิเล็กทรอนิกส์  คือการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้า บริการ การชำระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ)  ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีด้วยกัน 5 ประเภท คือ ธุรกิจกับธุรกิจ B2B, ธุรกิจกับลูกค้า B2C, ธุรกิจกับภาครัฐ B2G, ลูกค้ากับลูกค้า C2C, ภาครัฐกับประชาชน G2C  

โครงสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย หน้าร้าน, ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ, ระบบการชำระเงิน,ระบบสมัครสมาชิก, ระบบขนส่ง, ระบบติดตามคำสั่งซื้อ  และ กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การค้นหาข้อมูล, การสั่งซื้อสินค้า, การชำระเงิน, การส่งมอบสินค้า, การให้บริการหลังการขาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น