จินดา เจริญผล

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System



วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

บทที่ 2
การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IPOS Cycle (Input Process Output Storage Cycle)
1. รับข้อมูล (Input) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ Mouse สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโฟน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น
2. ประมวลผล (Process) เช่น การคำนวณ ภาษี คำนวณเกรดเฉลี่ย
3. แสดงผล (Output) การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอมประเภทของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีราคาสูงมาก สามารถประมวลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลัง การออกแบบงานด้านศิลปะ ฯลฯ
2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน เช่น ธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน บริษัทประกัน
3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-rang Computer/Sever มีประสิทธิภาพด้านความเร็วน้อยกว่าเมนเฟรม สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ตัวอย่างการใช้งานเช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักโรงแรม งานด้านการบัญชีขององค์การธุรกิจ
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PC (Personal Coomputer)
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็ก บาง และนำหนักเบา เหมาะแก่การพกพา ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอรี่
6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็กที่สุด หรือที่เรียกกันว่า PDA (Personal Digital Assistant)
7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ ตู้ร้องคาราโอเกะ

ทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ (Hardware)
โดยทั่วไปหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ ซีพียู (CPU)
3. หน่วยความจำ (Memory)
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)
5. อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจ
2. กำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. จัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
มีหน้าที่ในการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 2 ประเภท
- ระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส , ลีนุกซ์, windows 98, ME, XP, Vista
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรม Disk Defragmenter , Virus Scan, WinZip
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะงานต่างๆ ขององค์การ และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง เช่น Microsoft word, power point, Adobe Photoshop, Adobe Pagemaker ฯลฯ

ภาษาโปรแกรม
สามารถแบ่งเป็น 5 ยุคได้ดังนี้
1. ภาษาเครื่อง คือ ภาษาที่ประกอบด้วยเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) คือ เลข 0 กับ 1
2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนภาษาเครื่อง 0 กับ 1 เช่น PRICE แทนตำแหน่งที่เป็นที่อยู่ของ unit price ซึ่งเดิมเป็นตัวเลข 11001011
3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษาโพรซีเยอร์ เป็นคำสั่งลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น add แทน คำสั่ง บวก print แทน คำสั่ง พิมพ์ ฯลฯ
4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Languages) แตกต่างจากยุคที่สาม โดยไม่ใช้ภาษาโพรซีเยอร์ โดยเพียงเขียนโปรแกรมส่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่เขียนคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) จึงเป็นการง่ายกว่าเขียนภาษาในยุคที่สาม (ก็งง..!)
5. ภาษาธรรมชาติ เป็นคำพูดของภาษามนุษย์เป็นโครงสร้างของภาษาอังกฤษ เช่น select first_n, last_n from student where gpa>3.0 แต่เป็นภาษาธรรมชาติ คือ tell me he names of students with gpa over 3.0 ส่วนมากนำไปใช้ประยุกต์กับระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น