จินดา เจริญผล

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System



วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 13 เทคโนโลยีและการจัดการความรู้

บทที่ 13
เทคโนโลยีและการจัดการความรู้

ความหมายของความรู้
            ความรู้ คือ การผสมผสานของประสบการณ์ สารสนเทศ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษาเล่นเรีย ค้นคว้าวิจัย ที่นำไปสู่การกำหนดกรอบความคิดสำหรับการประเมิน ความเข้าใจ และการนำสารสนเทศและประสบการณ์ใหม่มาผสมรวมกัน

ประเภทของความรู้
            -  ความรู้โดยนัย (Tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ยากที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร และเป็นความรู้ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
            -  ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เป็นเหตุและผล สามารถเขียนบรรยายหรือถ่ายทอดมาเป็นตัวอักษรได้ เช่น คู่มือต่างๆ

ความหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge management)
            กระบวนการอย่างเป็นระบบในการสรรหา การเลือก การรวบรวมการจัดระบบ  และจัดเก็บความรู้ในลักษณะที่เป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนในองคืการสามารถถึงได้ง่ายและแบ่งปันความรู้ได้อย่างเหมาะสม

ประโยชน์ของการจัดการความรู้
            -  ช่วยเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์การตลอดไป
            -  ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ
-  ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ
-  เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่
-  ส่งเสิรมให้มีการเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นและแลกเปลียนความรู้ส่งผลให้บุคลากรมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
-  ช่วยให้องค์การมีความพร้อมในการปรับตัว

รูปแบบการจัดการความรู้
            -  เป็นการจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) สร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปังความรู้ซึ่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับ
            -  การสื่อสาร (Communication) องค์การต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงเนื้อหา กลุ่มเป้าหมายหรือช่องทางในการสื่อสาร
            -  กระบวนการและเครื่องมือ (Process and Tools) มีกระบวนการและเครื่องมือที่เหมาสมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์การ
            -  เรียนรู้ (Learning) เป็นการเตรียมความพร้อม สร้งความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรตะหนักถึงความสำคัญในการจัดการความรู้
            -  การวัดผล (Measurements) ให้ทราบถึงสถานะ ความคืบหน้า เพื่อปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการความรู้

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์การ
            -  เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์การให้มีประสิทธิภาพ
            -  ระบบจัดการอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
            -  ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
            -  ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
            -  ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO conference)
            -  การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (E-Broadcasting)
            -  การระดมความคิดผ่านระบบเครืองข่าย (Web board หรือ E-Discussion)
            -  ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานร่วนมกันเป็นทีม (Groupware)
            -  บล็อก (Blog หรือ Weblog) เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี โดยเครื่องมือทางเทคโนโลยี (Technology Tools) ที่สนับสนุนการจัดการความรู้เรียกว่า Knowware  ซอฟต์แวร์จัดการความรู้ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเครื่องมือต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง ได้แก่
            1.  Collaborative Computing Tools เครื่องมือสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Groupware) เป็นเครื่องมือมี่ช่วยในการถ่ายทอดความรู้โดยนัย
            2.  Knowledge Servers เป็นแหล่งเก็บความรู้และการเข้าถึงความรู้
            3.  Enterprise Knowledge Portals (EKP) เป็นประตูสู่ระบบจัดการความรู้ขององค์การ
            4.  Electronic Document Management System (EDM) เป็นระบบที่มุ่งจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบที่เน้าการทำงานร่วมกัน
            5.  Knowledge Harvesting Tools เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการจัดความรู้โดยนัย เนื่องจากยอมให้ผู้ที่ให้ความรู้ (Knowledge Contributor)  มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเล้กน้อย (หรือไม่มีเลย) ในความพยายามเกี่ยวกับความรู้นั้น
6.  Search Engines  ทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ เช่น การค้นหาและดึงเอกสารที่ต้องการมาจากแหล่งเก็บเอกสารขนาดใหญ่ขององค์การ
7.  Knowledge Management Suites (KMS) เป็นการจัดการความรู้แบบครบชุดที่รวมเทคโนโลยีการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการจัดเก็บ (Storage) ในชุดเดียวกัน

ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ
            1.  ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
            2.  มีเป้าหมายความรู้ที่ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายนี้ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ
            3.  มีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์การ
            4.  มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในกาจัดการความรู้
            5.  ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้
            6.  มีการวัดผลการจัดการความรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
            7.  มีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการแลกเปลี่ยนความรู้
            8.  มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น